2. หน้าจอ Touch Screen แบบ Capacitive (ตัวเก็บประจุ)
เทคโนโลยี Capacitive มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งความทนทาน ความโปร่งแสง มักเป็นที่นิยมใน Application ประเภท เกมส์ Entertainment, ATM, Kiosk อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม และ POS* โครงสร้างของ Touch Screen แบบ Capacitive นั้นประกอบด้วยแผ่นแก้วเคลือบผิวด้วยอ็อกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง เมื่อถึงเวลาการใช้งานก็จะมีการป้อนแรงดันไฟฟ้าที่มุมทั้งสี่ของ Touch Screen เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความเข้มสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งแผ่น ผู้ใช้จะต้องใช้นิ้วมือเปล่าๆสัมผัสที่จอเพื่อดึงกระแสจากแต่ละมุมที่ให้แรงดันตกลงจากนั้นแผงวงจรควบคุม จึงจะคำนวณเป็นตำแหน่งที่สัมผัสได้
* POS คือ ระบบขายหน้าร้าน ชื่อเต็มของ POS คือ Point of sale ซึ่งหมายถึง จุดขายหรือจุดชำระเงิน ตรงแคชเชียร์ ซึ่งนำหลักการของเครื่องคิดเงิน (Cash Register) มาเขียนโปรแกรมพัฒนาบนคอมพิวเตอร์ แล้วเพิ่มเติมความสามารถต่างๆที่เครื่องเก็บเงินทำไม่ได้
หน้าจอที่รองรับการใช้งานด้วยนิ้วสัมผัส ร่างกายของคนเราเป็นสื่อนำไฟฟ้าประเภทหนึ่ง หน้าจอประเภทนี้จึงไม่รองรับการใช้งาน Stylus หรือปากกาที่เป็นพลาสติกทั่วไป แต่ในบางยี่ห้อ หรือบางรุ่นสามารถใช้งาน Stylus แทนนิ้วมือได้ เพราะ Stylus นั้นทำจากวัสดุนำไฟฟ้าที่ต้องมีความสามารถในการถ่ายประจุจากจอไปที่นิ้วมือของผู้ใช้ และที่สำคัญตำแหน่งที่สัมผัสมีความละเอียดสูง ทำให้ลดการผิดพลาดในการสั่งการได้เป็นอย่างดี
ข้อดีของหน้าจอ Touch Screen แบบ Capacitive
- มีความคมชัด แสงจากหน้าจอสามารถผ่านออกมาได้ ภาพจึงชัด
- หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด
- ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเพี้ยนไปจากที่สอบเทียบตำแหน่งเอาไว้
- สามารถสัมผัสด้วยนิ้ว
ข้อเสียของหน้าจอ Touch Screen แบบ Capacitive
- ความไวของตัวอุปกรณ์จะด้อยลงได้เมื่อถูกรบกวนจากสัญญาณรบกวนอิเล็กทรอนิกส์
- ราคาที่ค่อนข้างสูง
- กินพลังงานมาก
- มีปัญหากับแสงรบกวนภายนอก
ตัวอย่างโทรศัพท์ที่ใช้หน้าจอแบบ Capacitive
iPhone 6 |
Samsung Galaxy S5 |
Samsung Galaxy Note8 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น