วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลักษณะของหน้าจอ Touch Screen


1. หน้าจอ Touch Screen แบบ Resistive (ตัวต่อต้าน)

            
           เทคโนโลยี Resistive ถือว่าเป็นแบบที่ประหยัดและเหมาะกับการใช้งานประเภทต่างๆได้กว้างขวาง เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าที่ใช้เครื่อง POS งานควบคุมทางด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในอุปกรณ์พกพาอย่าง PDA, Mobile เป็นต้น จอ Touch Screen แบบ Resistive จะประกอบด้วย เลเยอร์ด้านบนที่ยืดหยุ่นและเลเยอร์ด้านล่างที่อยู่บนพื้นแข็งคั่นระหว่าง 2 เลเยอร์ด้วยเม็ดฉนวนซึ่งทำหน้าที่แยกไม่ให้ด้านในของ 2 เลเยอร์สัมผัสกันเพราะด้านในของ 2 เลเยอร์นี้จะเคลือบด้วยสารตัวนำไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติโปร่งแสง ในเวลาสัมผัสจะมีการปล่อยกระแสที่เลเยอร์สารตัวนำ และเมื่อกดที่ Touch Screen จะทำให้วงจร 2 เลเยอร์ต่อถึงกัน จากนั้นวงจรควบคุมก็จะคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามตำแหน่งที่สัมผัสเมื่อคำนวณค่ากระแสตามแนวตั้งและแนวนอน จะได้ตำแหน่งที่สัมผัสบนหน้าจอ โดยแต่ละแกน เราสามารถหาค่าตำแหน่ง (ระยะจากขอบจอ) โดยใช้หลักการแบ่งแรงดันตามสมการดังภาพด้านล่าง  เสร็จการสแกนของแกนแรกก็ย้ายไปหาค่าในแกนที่เหลือ (ภายในเวลาสั้นๆ)


โดยมี CPU หรือ ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการสลับแกนและคำนวณระยะห่างจากขอบจอของแกนทั้งสองดังภาพด้านล่าง ส่วนที่ใช้ในการระบุตำแหน่งบนจอสัมผัส จะซ้อนอยู่ด้านบนของจอแสดงภาพอีกที


                หน้าจอที่รองรับการใช้งาน Stylus โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถนำวัสดุอื่นๆมาสัมผัสแทน Stylus ได้ แต่หากใช้งานด้วยนิ้วสัมผัสจะไม่ค่อยเสถียร

ข้อดีของหน้าจอ Touch Screen แบบ Resistive

- ความทนทานต่อสิ่งสกปรก, ฝุ่น, น้ำ
- ราคาไม่แพง
- ใช้อะไรสัมผัสก็ได้
- กินไฟน้อย

ข้อเสียของหน้าจอ Touch Screen แบบ Resistive
- เกิดการเลื่อนของจุดได้ง่ายต้องทำ Calibration อยู่บ่อยครั้ง
- เสียหายจากวัตถุมีคมได้ง่าย


ตัวอย่างโทรศัพท์ที่ใช้หน้าจอแบบ Resistive


Nokia Asha 306


Nokia Asha 311


i-mobile idea 1


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น